top of page

คำแนะนำในการเลือกซื้อเพชร

 

                ก่อนซื้อเพชร ควรรู้จักและทำความเข้าใจถึงคุณลักษณะ 4 ประการ (4Cs) ของเพชร ที่พ่อค้าอัญมณีใช้เป็นบรรทัดฐานในการจัดเกรดเพชร ได้แก่

 

Cut

การเจียระไน: เพชรที่เจียระไนได้สัดส่วยจะเปล่งประกายงดงามเจิดจรัสได้มากกว่า

เพชรเจียระไนได้หลายรูปร่าง (เช่น กลม สี่เหลี่ยม หัวใจ ฯลฯ) เพชรรูปกลมมีความคลาสสิกและได้รับความนิยมมากที่สุด

Color

สี: เพชรส่วยใหญ่มีหลายเฉดสีตั้งแต่ไร้สีจนถึงสีเหลือง โดยเรียงลำดับจาก D ถึง Z* เพชรไร้สีจะหายากที่สุด D E F คือ เพชรไร้สี…  G H I J คือ เกือบไร้สี K M L คือเพชรสีนวล N O P Q R คือเพชรสีเหลืองอ่อนมากๆ S-Z คือ เพชรสีเหลืองอ่อน

 

นอกจากนี้เพชรยังมีสีอื่นๆ เช่น เหลือง ส้ม ชมพู ฟ้า ฯลฯ ความเข้มของเฉดเหล่านี้ เรียกกันว่า “สีแฟนซี”

 

* บางครั้งคนไทยจะเรียกสีของเพชรว่า “น้ำ” เพชรน้ำยิ่งงสูงก็จะยิ่งขาวและไม่มีสีเหลืองเจือปน โดยเริ่มต้นจาก D คือน้ำ 100%, E คือ น้ำ 99%, และ F คือ น้ำ 98% ลดหลั่นกันไป

Clarity

ความสะอาด/ความบริสุทธิ์: เพชรทุกเม็ดมีเอกลักษณ์ประจำตัวแต่ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ภายใต้แว่นขยาย 10 เท่า ความสะอาดของเพชรจะแบ่งเป็น 6 ระดับ FL คือเพชรไร้ตำหนิ IF คือเพชรไร้ตำหริภายใน VVS1 VVS2 คือเพชรที่มีตำหนิน้อยมากๆ.. VS1 VS2 คือเพชรที่มีตำหนิน้อยมาก.. SI1 SI2 คือเพชรที่มีตำหนิเล็กน้อย.. I1 I2 I3 คือ เพชรที่มีตำหนิเด่นชัด

Carat Weight

น้ำหนักกะรัต: น้ำหนักหรือขนาดของเพชรถูกวัดเป็นกะรัต 1 กะรัตหนัก 0.2 กรัม และมี 100 สตางค์ (หรือ 200 มิลลิกรัม) ต่อกะรัต

ข้อควรจำ

ขอให้ระมัดระวังเพชรเลียนแบบมากมาย ได้แก่ คิวบิกเซอร์โคเนีย มอยซาไนต์สังเคราะห์ รูไทล์สังเคราะห์ สตรอนเซียมไททาเนต โทพาซไร้สี แซฟไฟร์ไร้สี ฯลฯ การทดสอบโดยการขีดกระจกไม่มีประโยชน์ เพราะเพชรเลียนแบบจำนวนมากซึ่งขีดกระจกได้เช่นกัน ควรปรึกษาพ่อค้าเครื่องประดับมืออาชีพ เพื่อให้แน่ใจว่าได้เพชรแท้

 

หากท่านกำลังจะลงทุนก้อนโตในเพชร ขอให้มั่นใจว่าท่านได้รับใบรับรองการตรวจสอบเพชรจากสถาบันตรวจวิเคราะห์อัญมณีที่มีชือเสียง

*All images are subjected to GIA.edu website

bottom of page