top of page
Writer's picturejewelfestclub

การปรับตัวรับ New Normal ของโลก บทสัมภาษณ์ คุณชมพล พรจินดารักษ์

Updated: Jul 23, 2020

การปรับตัวรับ New Normal ของโลก

บทสัมภาษณ์ คุณชมพล พรจินดารักษ์ อุปณายก 1 สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ


การรับมือกับระบบเศรษฐกิจในภาวะ New Normal ที่มีทั้งการปรับตัวของตลาดผู้บริโภค มาตรการการป้องกันการระบาด อีกทั้งผู้บริโภคเองได้เห็นความสะดวกและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือการทำธุรกรรมผ่าน Application บนมือถือ เกิดสภาวะที่เร่งการปรับตัวของธุรกิจไปยังโลกออนไลน์เร็วขึ้น สิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจคือ “การปรับตัวให้สอดรับ New Normal”อย่างรอบครอบ เพราะบางปัจจัยอาจเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น และบางสถานการณ์อาจเกิดขึ้นซ้ำได้อีกใน 10-20 ปี ข้างหน้า ในช่วงวิกฤติการระบาดของ Covid-19 ถือเป็น Wake up Call ของนักธุรกิจในยุคนี้

ที่จะต้องวางแผนให้รอบครอบยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะ การเผื่อเงินทุนสำรอง และ กระแสเงินสดในมือในการเตรียมรับความไม่แน่นอน อื่นๆในอนาคต


🔸ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงวิกฤติการระบาดของ Covid-19 ถึง ปัจจุบัน




คุณชมพล : ในช่วงแรกที่เกิดวิกฤติการระบาดของ Covid-19 เราได้คาดการณ์ว่า ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ประมาณต้นปี 2564 แต่จากสภาพการณ์หลายประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และ กลับมาเปิดเมือง ดำเนินธุรกิจแล้ว การประมาณการณ์ใหม่จึงมองว่า ช่วงเดือนกันยายน 2563 เศรษฐกิจก็น่าจะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ถึงแม้ว่าการประเมินใหม่นี้ คงไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นข่าวดี แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้แย่เท่าที่หลายหน่วยงานประเมินไว้ในครั้งแรก

สมาคมเข้าใจความยากลำบากของผู้ประกอบการเป็นอย่างดี แม้ว่าสภาวะการระบาดในหลายๆประเทศจะดีขึ้น แต่สภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมยังประสบความยากลำบากในการประกอบธุรกิจ

ทางสมาคมมองภาพรวมขณะนี้ทางยุโรปเริ่มกลับมาฟื้นตัวแล้ว ตอนนี้เหลือแค่ อเมริกา บราซิล อินเดีย ที่ยังน่าห่วง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ควบคุมได้เป็นส่วนมาก แม้จะมีละลอกสองบ้างก็สามารถควบคุมได้ เราจึงต้องหันกลับมาให้ความสนใจตลาดเอเชีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่นมากขึ้น ซึ่


งใน AEC ไทยถือเป็นศูนย์กลางตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ โดยสมาคมจะจัดการประชุม Asean+6 Gems and Jewelry Association เพื่อการเพิ่มช่องทางการค้าระหว่างกันในภูมิภาคเอเชีย


🔸การปรับตัวสำหรับธุรกิจนี้หลังคลาย Lockdown


คุณชมพล : ในส่วนของภาคการผลิต ได้มีการปรับเรื่องมาตรการความปลอดภัย ความใส่ใจสุขภาพของพนักงานสายการผลิตมากขึ้น ทั้งการใส่หน้ากาก การเว้นระยะห่าง ปรับลดกะเข้างาน ปรับลดวันทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดของ Covid -19 หลังจากเปิดดำเนินการผลิตตามปกติ

สำหรับการตลาด ช่วงที่ผ่านมาสมาชิกของสมาคมฯ บางส่วนเริ่มปรับตัวหันเข้าหาช่องทางออนไลน์มากขึ้น แม้จะยังไม่เต็มตัว ซึ่งการทำธุรกรรมออนไลน์ เหมาะกับสินค้าบางประเภทเท่านั้น เช่น เครื่องประดับ Jewelry หรือ precious metal chain และพลอยเนื้ออ่อนบางชนิด ที่สามารถลงภาพสินค้า และกดสั่งซื้อทางออนไลน์แคตตาล็อกได้เลย แต่สำหรับพลอยสี หรือเครื่องประดับบางชนิดที่เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชิ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น ทับทิม ไพลิน มรกต เทคโนโลยีในปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างภาพเสมือน ได้ละเอียดและแม่นยำเพียงพอ เพื่อใช้ในการตรวจสอบสินค้าบนออนไลน์ของคู่ค้าได้ ยังจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีในการถ่ายภาพ 2มิติ 3มิติ หรือ สร้างภาพเสมือน Hologram ให้มีความแม่นยำ ทั้งขนาด รูปทรง และสี เพื่อที่จะสามารถระบุอัตลักษณ์เฉพาะของสินค้าชิ้นนั้นๆได้อย่างชัดเจน และ ตรงกับสินค้าจริงมากที่สุด ซึ่งเป็นหัวใจห


ลักในการสร้างมูลค่าของอัญมณี ถึงแม้ว่าอัญมณีบางประเภทยังไม่สามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้ แต่ในปัจจุบัน ช่องทางออนไลน์ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งในการเพิ่มเครือข่ายให้กับสมาชิกของสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ดังนั้นสมาคมจึงมุ่งมั่นร่วมมือกับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ทั่วโลก ทั้งเอเชีย จีน ยุโรป อเมริกา เพื่อขยายตลาดให้กับสมาชิกของเราให้ได้มากที่สุด ในระหว่างที่คู่ค้าส่วนมากยังเลือกที่จะไม่เดินทางข้ามประเทศ ออนไลน์จึงเป็นช่องทางที่จะทำให้ผู้ค้าและผู้ผลิตได้รู้จักกันมากขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือถือ นำไปสู่การขยายตลาดใหม่ๆในอนาคต


🔸Platform Online ที่สมาคมฯ กำลังจะเข้าร่วมสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจนี้ได้อย่างไรบ้าง


คุณชมพล : สำหรับ Platform Online นี้จะเป็นลักษณะของ Business to Business (B2B


) เหมือนศูนย์กลางที่จะทำให้ผู้ค้าและผู้ผลิตติดต่อกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ สร้างความเชื่อถือซึ่งกันและกัน สมาคมมองว่า ช่องทางนี้จะเป็นโอกาสหนึ่งที่จะทำให้เกิดการซื้อ-ขายและตลาดใหม่ สำหรับธุรกิจ B2B การร่วมมือกับ platform ต่างๆ มีความคุ้มค่ามากกว่าการที่แต่ละบริษัทจะลงทุนสร้างWebsite และระบบ Online Marketing ของตนเองขึ้นมา ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่ายดำเนินการสร้างระบบ และ ค่าใช้จ่ายในการสร้าง Traffic เข้าสู่ระบบ

Platform Online นี้ จะเป็นแหล่งรวมผู้ซื้อและผู้ขายมืออาชีพ ที่มีความต้องการตรงกัน ถือเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ตรงมากยิ่งขึ้น หลายปีที่ผ่านมามี Platform Online เกิดขึ้นมากมาย แม้ยังไม่เป็นที่นิยมมาก แต่ด้วยสถานการณ์ Covid-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น และเป็น โอกาสใหม่ๆในการใช้ประโยชน์ในช่องทางออนไลน์


🔸การเตรียมพร้อมในช่วงระยะฟื้นตัวของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ


คุณชมพล : ความสำคัญในการแก้ปัญหาขั้นแรกคือ ดูแลกระแสเงินสดและสภาพคล่องให้ดีในช่วงระยะเวลา 4 เดือนนี้ รวมถึงปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรืออาจจะขายสินทรัพย์ที่ไม่สร้างกระแสเงินสด ระหว่างรอให้ความต้องการของตลาดกลับมา ซึ่งสมาคมฯเองได้เล็งเห็นปัจจัยนี้ จึงเข้ามาช่วยติดต่อธนาคารและสถาบันการเงิน เพื่อเป็นแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้สมาชิกประคองธุรกิจในช่วง 4 เดือนนี้

และอีกปัจจัยสำคัญที่ตรงข้ามกับการคาดการณ์ในระยะแรกๆ คือการคาดการณ์ที่ว่า โควิดจะเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมของผู้บริโภค ถึงขนาดมีความกังวลว่าผู้บริโภคจะลดความต้องกา


รอัญมณีและเครื่องประดับ วันนี้ในประเทศไทยเราได้เห็น ปรากฎการณ์ในลักษณะที่เรียกว่า “อั้น” ซึ่งถ้ามองกลับไป ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. การจับจ่ายใช้สอยนั้น ไม่ได้เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดหรือการเปลี่ยนพฤติกรรมของตลาด แต่เกิดจากข้อจำกัดในมาตรการต่างๆ วันนี้เราจึงเห็นภาพการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศกลับมาแน่นทุกวันหยุดติดกันหลายสัปดาห์

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้ง แต่ไม่มีครั้งใดเกิดผลกระทบในวงกว้างที่ทำให้การค้าการลงทุน การขนส่งหยุดชะงักทั่วโลก เหมือนวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 ในครั้งนี้ ทำให้ธุรกิจเพิ่มความระมัดระวัง และต้องมีการเตรียมเงินทุนสำรองมากขึ้น เพื่อให้พร้อมรับมือ สถานการณ์อื่นๆที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญ



55 views0 comments

Comments


bottom of page